นักสนุกเกอร์ที่ชื่นชอบ


วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2551

3.อำนาจหน้าที่

อำพระราชบัญญัติ องค์การบริหารส่วนจังหวัด โครงสร้างรวมและอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ( อบจ .) ตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 3 พ.ศ. 2546 …………………………….
สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด( มาตรา 9)
1. สภา อบจ . ประกอบด้วยสมาชิกสภา อบจ . ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วย การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
จำนวนสมาชิกสภา อบจ . ให้ถือเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละจังหวัด ราษฎรไม่เกินห้าแสนคน = 24 คน ราษฎรห้าแสนคนแต่ไม่เกินหนึ่งล้านคน = 30 คน ราษฎรเกินหนึ่งล้านคนแต่ไม่เกินหนึ่งล้านห้าแสนคน = 36 คน ราษฎรเกินหนึ่งล้านห้าแสนคนแต่ไม่เกินสองล้านคน = 42 คน ราษฎรเกินสองล้านคนขึ้นไป = 48 คน ในอำเภอหนึ่งให้มีสมาชิกสภา อบจ . ได้ 1 คน ส่วนจะมีจำนวนเท่าใดขึ้นอยู่กับจำนวนราษฎรของ อำเภอนั้น 2. อายุของสมาชิกสภา อบจ . มีกำหนดคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง 3. สภา อบจ . มีประธานสภา อบจ . 1 คน รองประธานสภา อบจ . 2 คน ซึ่ง สภา อบจ . เลือกจากสมาชิกสภา อบจ . ดำรงตำแหน่งจนครบอายุของสภา อบจ .
อำนาจหน้าที่ของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
1. เลือกประธานสภา อบจ . และรองประธานสภา อบจ . หรือมติให้ประธานสภา อบจ . หรือรองประธานสภา อบจ . พ้นจากตำแหน่ง
2. เลือกกรรมการสามัญและกรรมการวิสามัญของสภา อบจ . และตั้งคณะกรรมการสามัญประจำสภา อบจ .
3. รับทราบนโยบายของ นายก อบจ . ก่อนนายก อบจ . เข้ารับหน้าที่และรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงาน ตามนโยบายที่ นายก อบจ . ได้แถลงไว้ต่อสภา อบจ . เป็นประจำทุกปี
4. อนุมัติร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนพัฒนา 3 ปี ของ อบจ .
5. ให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติ อบจ . : ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และร่างข้อบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมของ อบจ .
6. ในที่ประชุมสภา อบจ . สมาชิกสภา อบจ . มีสิทธิตั้งกระทู้ถามนายก อบจ . หรือรองนายก อบจ . เสนอญัตติ ขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อให้นายก อบจ . แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในการบริหารราชการ อบจ . โดยไม่มีการลงมติ เสนอข้อสอบถามต่อประธานสภา อบจ . ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชี้แจง ข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับ อำนาจหน้าที่ของราชการส่วนภูมิภาค และให้หัวหน้าส่วนราชการซึ่งมาปฏิบัติหน้าที่ในเขตจังหวัดชี้แจง ข้อเท็จจริงอันเกี่ยวกับงานในหน้าที่
7. การปรึกษาหารือในสภา อบจ . ต้องเป็นกิจการเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ อบจ . นั้นโดยเฉพาะ ห้ามปรึกษาหารือในเรื่องนอกเหนืออำนาจหน้าที่

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ( มาตรา 35)
1. อบจ . มีนายก อบจ . 1 คน ซึ่ง มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วย การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ดำรงตำแหน่งนับแต่วันเลือกตั้งและมีวาระ อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดำรงตำแหน่งเกิน 2 วาระไม่ได้ เมื่อได้ดำรงตำแหน่ง 2 วาระติดต่อกันแล้วจะดำรงตำแหนงได้อีกเมื่อพ้น 4 ปี นับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง
2. นายก อบจ . อาจแต่งตั้งรองนายก อบจ . ซึ่งมิใช่สมาชิกสภา อบจ . ได้ตามเกณฑ์ ดังนี้
o อบจ . ที่มีสมาชิกสภา อบจ . 48 คน แต่งตั้งได้ไม่เกิน 4 คน
o อบจ . ที่มีสมาชิกสภา อบจ . 36 คนหรือ 42 คน แต่งตั้งได้ไม่เกิน 3 คน
o อบจ . ที่มีสมาชิกสภา อบจ . 24 คนหรือ 30 คน แต่งตั้งได้ไม่เกิน 2 คน
3. นายก อบจ . อาจแต่งตั้งเลขานุการหรือที่ปรึกษานายก อบจ . ซึ่งมิใช่สมาชิกสภา อบจ . ได้จำนวนรวมกัน ไม่เกิน 5 คน
อำนาจหน้าที่ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
1. ก่อนเข้ารับหน้าที่ นายก อบจ . ต้องแถลงนโยบายต่อสภา อบจ . โดยไม่มีการลงมติ หากไม่สามารถดำเนินการได้ให้ทำเป็นหนังสือ แจ้งต่อสมาชิกสภา อบจ . ทุกคน และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อสภา อบจ . เป็นประจำทุกปี
2. มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหารราชการ ของ อบจ . ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อบัญญัติ และนโยบาย
2. สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของ อบจ .
3. แต่งตั้งและถอดถอนรองนายก อบจ . เลขานุการนายก อบจ . และที่ปรึกษา นายก อบจ .
4. วางระเบียบเพื่อให้งานของ อบจ . เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
5. รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ อบจ .
6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ และกฎหมายอื่น
3. ควบคุม และรับผิดชอบในการบริหารราชการของ อบจ . ตามกฎหมายและเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และลูกจ้าง อบจ .
4. มีสิทธิเข้าประชุมสภา อบจ . และมีสิทธิแถลงข้อเท็จจริงตลอดจนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของตนต่อที่ประชุม แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
5. ในกรณีฉุกเฉินซึ่งจะเรียกประชุมสภา อบจ . ให้ทันท่วงทีมิได้ นายก อบจ . อาจออกข้อบัญญัติชั่วคราวที่มิใช่ข้อบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมได้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสามัญประจำสภา อบจ .
6. กรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานและรองประธานสภา อบจ . หรือสภา อบจ . ถูกยุบตาม มาตรา 22 วรรคหก หากมีกรณีที่สำคัญและจำเป็นเร่งด่วนซึ่งปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะกระทบต่อประโยชน์สำคัญของราชการหรือราษฎร นายก อบจ . จะดำเนินการไปพลางก่อนเท่าที่จำเป็นก็ได้
7. หากละเลยไม่ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ หรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหรือประพฤติตนฝ่าฝืนต่อความ สงบเรียบร้อยของประชาชน อาจถูกรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งให้พ้นจากตำแหน่งได้โดยการเสนอของ ผู้ว่าราชการจังหวัด
ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับในพื้นที่ อบจ .
1. ได้รับการแก้ไขปัญหาพัฒนาความเป็นอยู่และการบริการสาธารณะจาก อบจ . ตามอำนาจหน้าที่ของ อบจ .
2. มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา อบจ . และนายก อบจ .
3. มีสิทธิเข้าชื่อกันเสนอให้ออกข้อบัญญัติ อบจ .
4. มีสิทธิขอข้อมูลข่าวสารจาก อบจ .
5. มีหน้าที่ไปเลือกตั้งสมาชิกสภา อบจ . และนายก อบจ .
6. มีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบัญญัติของ อบจ .
7. ร่วมกับ อบจ . พิจารณาข้อดี ข้อเสีย โครงการของรัฐตามกระบวนการประชาพิจารณ์ด้วยเหตุผลของตนเองอย่างบริสุทธิ์ใจ และอย่างสันติ
8. ติดตามการดำเนินงานของ อบจ . อย่างใกล้ชิด
9. มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนา อบจ . การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของ อบจ . ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด
10. ลงคะแนนเสียงถอดถอนสมาชิกสภา อบจ . หรือผู้บริหาร อบจ . หากเห็นว่า ผู้นั้นไม่สมควรดำรงตำแหน่งต่อไป
อำนาจหน้าที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ตาม พรบ . กำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
*****************
มาตรา 17 ภายใต้บังคับมาตรา 16 ให้องค์การบริการส่วนจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้
1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
2. การสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
3. การประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
4. การแบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
5. การคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาป่าไม้ ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6. การจัดการศึกษา
7. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
8. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
9. การส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม
10. การจัดตั้งและดูแลระบบบำบัดน้ำเสียรวม
11. การกำจัดมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลรวม
12. การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ
13. การจัดการและดูแลสถานีขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ
14. การส่งเสริมการท่องเที่ยว
15. การพาณิชย์ การส่งเสริมการลงทุน และการทำกิจการไม่ว่าจะดำเนินการเองหรือร่วมกับบุคคลอื่นหรือจากสหการ
16. การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
17. การจัดตั้งและดูแลตลาดกลาง
18. การส่งเสริมการกีฬา จารีตประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น
19. การจัดให้มีโรงพยาบาลจังหวัด การรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
20. การจัดให้มีพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ
21. การขนส่งมวลชนและการวิศวกรรมจราจร
22. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
23. การจัดให้มีระบบรักษาความสงบเรียบร้อยในจังหวัด
24. จัดทำกิจการใดอันเป็นอำนาจและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขตและกิจการนั้นเป็นการสมควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมกันดำเนินการหรือให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดทำ ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
25. สนับสนุนหรือช่วยเหลือส่วนราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
26. การให้บริการแก่เอกชน ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรปกครองท้องถิ่นอื่น
27. การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
28. จัดทำกิจการอื่นใดตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
29. กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศนาจหน้าที่ของ อ.บ.จ.

ไม่มีความคิดเห็น: